นานาสาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้

     อาการของโรคภูมิแพ้
  • มีผื่นที่ผิวหนัง เช่นผื่นแพ้ ลมพิษ คันตามผิวหนัง
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
  • ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด โรคหอบ หืด
  • เคืองตาและตาแดง คัดจมูก
  • บวมรอบปาก อาเจียน และถ่ายเหลว
  • แสบคอ น้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ

รู้จักโรคภูมิแพ้

โรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน

  

ประเภทสารก่อภูมิแพ้ 

ประกอบด้วย 2 ประเภทหลัก ได้แก่
          1) สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมและอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร แมลงสาบ เชื้อรา ฯลฯ
          2) สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นม ไข่ ถั่ว แป้งสาลี อาหารทะเล ฯลฯ

อาการบ่งบอกภูมิแพ้

อาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะเกิดตามอวัยวะที่มีการอักเสบจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่
  • ผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูก จาม คันจมูก คัดจมูก คันตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหลบ่อย ไอหอบ แน่นหน้าอก หายไม่คล่อง หายใจแล้วมีเสียงวี้ด
นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด รวมทั้งมีภาวะซีดเกิดขึ้นด้วยได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตตนเองและพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง

ตรวจให้แน่ใจ

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ย่อมช่วยให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพ้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเริ่มจากแพทย์ตรวจร่างกายและซักประวัติแบบละเอียด จากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ทดสอบทางผิวหนัง เจาะเลือดหาสาเหตุ เพื่อให้สามารถยืนยันสาเหตุการแพ้ได้อย่างชัดเจน นำไปสู่การดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
แม้ภูมิแพ้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ถ้าหากรู้สาเหตุของการแพ้อย่างชัดเจนและพยายามหลีกเลี่ยง  ตลอดจนหมั่นดูแลร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ย่อมช่วยบรรเทาอาการที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ มีสาเหตุส่วนใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อม แต่นอกจากนั้นก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดภูมิแพ้ได้เช่นกัน คือ
1. พันธุกรรม ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง เป็นโรคภูมิแพ้จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ ประมาณร้อยละ 30-50 แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ จะมีผลให้ลูกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้มากขึ้นถึง ร้อยละ 50-70 ในขณะที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้เลย มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียงร้อยละ 10
2. สิ่งแวดล้อม โดยเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้กระตุ้นอาการแพ้ขึ้นในระบบทางเดินหายใจ สารก่อภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ แมลงสาบ เชื้อรา
3. ปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ได้แก่ การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ อากาศเปลี่ยนจากร้อนเป็นหนาว หรือ ฝนตก อากาศชื้น มลภาวะ สารเคมี น้ำหอม กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ การออกกำลังกาย ความเครียด สภาวะอารมณ์ จิตใจ
โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

วิธีรักษา โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

เลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้ เพื่อลดสารก่อภูมิแพ้ให้น้อยที่สุด เช่น เป็นวิธีการรักษาภูมิแพ้ในระยะยาว เพราะเชื่อว่าหากร่างกายแข็งแรงขึ้น ร่างกายจะค่อย ๆ สร้างภูมิต้านทานขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ภูมิแพ้มีอาการดีขึ้น หรือมีอาการเพียงแค่เล็กน้อย โดยควรออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ
รักษาด้วยยา
1. ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮิสตามีน แม้จะพยายามระวังรักษาสุขภาพอย่างดีแล้ว แต่บางทีก็ยังอาจมีอาการมากได้ เช่น เวลาอากาศเปลี่ยน หรือช่วงที่เป็นหวัด ถ้าเกิดอาการขึ้นมาก็ใช้ยาระงับอาการช่วยได้ ที่รู้จักกันดีคือ ยาแอนตี้ฮิสตามีน หรือยาแก้แพ้ เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ที่ปลอดภัย ที่สำคัญคือเป็นยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ง่วง และมีประสิทธิภาพดี ปลอดภัย
2. ยาต้านการอักเสบ เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือ สูดทางปาก
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีการรักษาภูมิแพ้ในระยะยาว เพราะเชื่อว่าหากร่างกายแข็งแรงขึ้น ร่างกายจะค่อย ๆ สร้างภูมิต้านทานขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ภูมิแพ้มีอาการดีขึ้น หรือมีอาการเพียงแค่เล็กน้อย โดยควรออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ รักษาให้ดีขึ้นได้ อย่ากังวล!

ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจนั้น ถึงจะรักษาไม่หายขาด แต่หากได้ทราบว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ พยายามกำจัด หรือหลีกเลี่ยงเอาไว้ ก็จะดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
หากเกิดอาการขึ้นนานๆ ครั้ง การใช้ยาแอนตี้ฮิสตามีน หรือ ยาแก้แพ้ที่ปลอดภัย เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) จะช่วยระงับอาการได้ แต่ถ้ามีอาการมากอยู่ หรือมีภาวะแทรกซ้อน อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ แพทย์อาจใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด หรือ การฉีดวัคซีนภูมิแพ้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น